Australian Embassy
Thailand

Press Release 2013 - Science Fair Bio_Th

 

 

 

 

 

 

Dr Scott Watkins (ดร. สก็อตต์ วัตกินส์)

Stream Leader for Organic Photovoltaics
CSIRO Materials Science and Engineering, CSIRO Future Manufacturing Flagship

ดร.สก็อตต์ วัตกินส์ เป็นหัวหน้าทีมวิจัยเซลส์แสงอาทิตย์สารอินทรีย์ ภาควัสดุศาสตร์และวิศวกรรม ศูนย์การผลิตแห่งอนาคต องค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation-CSIRO) เมืองเคลย์ตัน รัฐวิคทอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ดร.วัตกินส์จบปริญญาเอก สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ เขาสนใจงานวิจัยหลายอย่าง ตั้งแต่การสังเคราะห์และวิเคราะห์วัสดุใหม่ๆ ไปจนถึงการประดิษฐ์และการทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง 2547 ดร. วัตกินส์ ร่วมงานกับศูนย์เทคโนโลยีการจัดแสดงแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge Display Technologies) ในสหราชอาณาจักร ทางด้านการพัฒนาโพลิเมอร์เรืองแสงเพื่อประยุกต์ใช้ในงานจัดแสดงและแสงสี เขาร่วมงานกับ CSIRO ในปีพ.ศ. 2547 เพื่อพัฒนางานวิจัยวัสดุและการประยุกต์ใช้งานจริงในสาขาอิเล็กทรอนิกส์พลาสติก ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงการใช้เซมิคอนดักเตอร์ธรรมชาติ (molecular or polymeric organic semi-conductor) เป็นวัสดุหลักในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีดังกล่าวถูกนามาประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง เช่น Organic Light Emitting Diodes (OLEDs), Organic Photovoltaics (OPVs), Organic Field Effect Transistors (OFETs) และการใช้เซนเซอร์ตรวจจับอีกหลากหลายประเภท ดร. วัตกินส์เป็นหัวหน้าโครงการเกี่ยวกับ OLEDs และ OPVs ที่ CSIRO และเป็นผู้ประสานงานโครงการต่างๆ ของ CSIRO ในเวทีประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์พลาสติกเพื่อการใช้งาน โดยการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมกับงานวิจัย

หัวข้อสัมมนา “Renewable Energy – Thin Film Solar Cells”
(พลังงานหมุนเวียน – เซลล์แสงอาทิตย์แบบแผ่นฟิล์มบาง)

องค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) เป็นองค์กรวิจัยประยุกต์ภาครัฐของออสเตรเลีย ปัจจุบัน กลุ่มงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์แบบยืดหยุ่นได้ (Flexible Electronics Research Theme) กำลังพัฒนาวัสดุและเทคโนโลยีเพื่อการใช้งานจริง เช่น เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์แบบแผ่นฟิล์มบาง (thin film solar cells) ไดโอดเรืองแสงสารอินทรีย์ (organic light emitting diodes) และทรานซิสเตอร์แบบฟิล์มบางฟิลด์เอฟเฟ็กต์ (thin film field effect transistors)
การนำเสนองานวิจัยครั้งนี้ ดร.วัตกินส์จะแนะนำกิจกรรมและโครงการความร่วมมือทางด้านอิเล็กทรอนิกส์แบบยืดหยุ่นได้ (Flexible Electronics) ที่ CSIRO ได้เข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งรวมถึงการประชุมงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยและบริษัททั่วโลก จากนั้นก็จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่แตกต่างกันสองประเภทสาหรับการผลิตเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์แบบแผ่นฟิล์มบาง โดยเริ่มจากเซลล์แสงอาทิตย์สารอินทรีย์ (organic solar cell) โดยจะเล่าถึงงานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุและกระบวนการที่ CSIRO ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งทำให้ปัจจุบันเราสามารถผลิตแผงโซล่าร์ เซลล์ ที่พิมพ์ออกมาเต็มรูปแบบได้ถึงขนาดใหญ่เท่ากับกระดาษ A3 รวมถึงประสิทธิภาพของแผงโซล่าร์เซลส์ที่ผลิตได้ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนแบบนี้ตั้งแต่อุปกรณ์เครื่องใช้ขนาดเล็ก และส่วนประกอบของแผงโซล่าร์ เซลล์ในป้ายโฆษณาที่ติดตามอาคาร ไปจนถึงแผงโซล่าร์ เซลล์สาหรับพื้นที่ขนาดใหญ่

ส่วนที่สองจะพูดถึงงานวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์โดยมีอนุภาคนาโนที่ใช้กระบวนการแบบสารละลาย โดยกระบวนการที่ CSIRO พัฒนาขึ้นมา สามารถขยายอนุภาค ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นาโนเมตร เป็นผลึกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 70 นาโนเมตรภายในแผ่นฟิล์มแสงอาทิตย์ กระบวนการนี้แสดงให้เห็นได้ว่า แผงโซล่าร์ เซลล์แบบแคดเมี่ยมเทลลูไรด์ (CdTe) ที่ผลิตได้นั้น มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานมากกว่าที่ผลิตแบบใช้อากาศ ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ และในช่วงสุดท้ายของการบรรยาย ดร.วัตกินส์จะเล่าถึงโครงการเพื่อสังคมและกิจกรรมเพื่อการศึกษาที่ CSIRO เข้าไปมีส่วนร่วมด้วย

 



 

 

 

 

 

Prof Dr Joseph G. Shapter (ศ.ดร.โจเซฟ จี. แชปเตอร์)

Professor of Nanotechnology and Dean, School of Chemical and Physical Sciences
Flinders University, South Australia, Australia

ศ.ดร.โจเซฟ จี. แชปเตอร์ เป็นศาสตราจารย์ด้านนาโนเทคโนโลยี และคณบดี วิทยาลัยวิทยาศาสตร์เคมีและฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส รัฐเซาท์ออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย

ศาสตราจารย์แชปเตอร์ จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยแห่งโตรอนโต ในปี พ .ศ.2533 โดยมีผลงานทางด้านการตรวจจับและระบุปริมาณพลังงานของโมเลกุลขนาดเล็ก ร่วมกับศาสตราจารย์ เจ .ซี .โปแลนยี (J. C. Polanyi) ในช่วง พ .ศ.2533 ถึง 2539 เขาทำงานที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนทาริโอ โดยได้สร้างกล้องจุลทรรศน์แบบสแกนนิ่งทันเนลลิ่ง และสอนวิชาเคมีให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยก่อนที่จะย้ายไปประจำที่มหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สในปีพ.ศ.2539

ศาสตราจารย์แชปเตอร์เป็นผู้นำในการก่อตั้งหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขานาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ฟลินเดอร์ส เป็นแห่งแรกของโลก และเป็นผู้ประสานงานหลักสูตรในช่วงปี 2543-2546 และปี 2550 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ศาสตราจารย์แชปเตอร์ยังเป็นผู้อานวยการผู้ก่อตั้งองค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศ (Defence Science and Technology Organisation -DSTO) ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ทุนสนับสนุนศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านวัสดุพลังงาน (Centre of Expertise in Energetic Materials -CEEM) ปัจจุบัน ศาสตราจารย์แชปเตอร์ยังได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์จุลทรรศน์วิทยาและจุลทรรศน์วิเคราะห์แห่งออสเตรเลีย ประจำรัฐเซาธ์ออสเตรเลีย (South Australian node of the Australian Microscopy and Microanalysis Facility - AMMRF) อีกด้วย

หัวข้อสัมมนา “Nanotechnology: What is it and What Use is it?”
(นาโนเทคโนโลยีคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร)

นาโนเทคโนโลยี คือ วิทยาศาสตร์แขนงใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและจัดการวัสดุต่างๆ ที่มีขนาดเล็กเท่ากับเศษหนึ่งส่วนพันล้านของวัสดุขนาด “ปกติ” ในโลกของเรา ซึ่งทำให้มนุษย์สามารถมองเห็นทุกอะตอมหรือทุกโมเลกุลได้ และยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ยังสามารถควบคุมปรับแต่งอะตอมหรือโมเลกุลเหล่านั้นเพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์และโครงสร้างวัสดุใหม่ๆ ที่มีประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง ดังจะเห็นจากตัวอย่าง 2 — 3 กรณี ที่ศาสตราจารย์แชปเตอร์จะนำมาเสนอในการสัมมนาครั้งนี้