Australian Embassy
Thailand

Press Release 2014 - resettlement people smugglers_Th

การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการตั้งถิ่นฐาน อีกหนึ่งมาตราการตอบโต้นักลักลอบขนคนเข้าเมือง

18 พฤศจิกายน 2557

ในวันนี้ ฯพณฯ สก็อตต์ มอร์ริสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและการป้องกันพรมแดน แถลงว่า ผู้แสวงหาที่พักพิงที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในอินโดนีเซียในวันที่หรือหลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 จะไม่มีสิทธิในการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียอีกต่อไป

ฯพณฯ มอร์ริสัน กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องในระดับภูมิภาคเพื่อสกัดกลยุทธ์ที่ผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองใช้ในการหลอกล่อบุรุษ สตรี และเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อ

“เมื่อ 9 ใน 10 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ได้ผ่านไปโดยผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองไม่ประสบความสำเร็จใดๆในการทำธุรกิจนำคนมายังออสเตรเลีย เรารู้ว่าผู้ลักลอบขนเข้าเมืองจะยังคงพยายามชักชวนให้ผู้แสวงหาที่พักพิงเดินทางมาอย่างผิดกฎหมายสู่อินโดนีเซีย เพื่อที่จะได้ขอตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลีย” นายมอร์ริสันกล่าว

“การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะช่วยลดการเคลื่อนย้ายผู้แสวงหาที่พักพิงสู่อินโดนีเซียและส่งเสริมให้พวกเขาขอตั้งถิ่นฐานใน หรือจากประเทศแรกรับผู้ลี้ภัย” เขากล่าวเสริม

ออสเตรเลียจะยังดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยบางส่วนซึ่งขึ้นทะเบียนกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในอินโดนีเซียก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 ได้ตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม จะไม่จัดสรรจำนวนได้มากนัก
นั่นหมายความว่า ระยะเวลาในการรอในอินโดนีเซียเพื่อจะได้รับโอกาสตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียจะยาวนานขึ้นอย่างมาก

นายมอร์ริสัน กล่าวว่า รัฐบาลไม่สนับสนุนให้ผู้แสวงหาที่พักพิงเดินทางอย่างผิดกฏหมายสู่ประเทศทางผ่านเพื่อหาทางตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่นที่ตนพึงพอใจมากกว่า

“นโยบายต่างๆของรัฐบาลภายใต้ปฏิบัติการรักษาอธิปไตยพรมแดน (Operation Sovereign Borders) ไม่เพียงแต่รักษาชีวิตผู้คนที่เดินทางมาทางทะเล แต่ยังเพิ่มจำนวนการรับผู้คนผ่านทางแผนงานทางมนุษยธรรมเพื่อให้โอกาสแก่ผู้ลี้ภัยที่สิ้นหวังและอยู่ในสภาวะเปราะบางมากที่สุดของโลก เป็นเรื่องสำคัญว่าคนที่จะถูกรับผ่านแผนงานมนุษยธรรมนั้นจะต้องไม่ใช่ผู้ที่พยายามแสวงหาประโยชน์จากแผนงานด้วยการเลือกสรรประเทศที่จะตั้งถิ่นฐานผ่านทางประเทศทางผ่าน” เขากล่าว

ในปี 2557 - 2558 แผนงานด้านมนุษยธรรมของออสเตรเลียจะรับผู้ลี้ภัยจำนวน 13,750 คน ซึ่งรวมถึง 11,000 คนที่อยู่ในต่างประเทศ โดยเกือบทั้งหมดจะอยู่ในประเทศแรกรับ

รัฐบาลอินโดนีเซียได้รับทราบถึงการตัดสินใจนี้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดภาระซึ่งนักลักลอบขนคนเข้าเมืองสร้างขึ้น จากการที่ผู้แสวงหาที่พักพิงเดินทางเข้าประเทศอินโดนีเซีย